การเลือกชนิดแบริ่งส์

Last updated: 29 พ.ค. 2557  |  25785 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การเลือกชนิดแบริ่งส์

1. ที่ว่างสำหรับแบริ่งส์ที่ยอมได้
     ที่ว่างที่ยอมรับได้สำหรับแบริ่งส์และชิ้นส่วนที่ไกล้เคียง โดยทั่วๆ ไปแล้วจะจำกัดมาก ดังนั้นชนิดและขนาดแบริ่งส์ที่เลือกต้องอยู่ในข้อจำกัดนั้นๆ ในเกือบทุกกรณี โดยมากแล้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพลาจะถูกกำหนดไว้ก่อนแล้วการออกแบบเครื่องจักร นั้นคือการเลือกแบริ่งส์มักจะเลือกตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใน สำหรับแบริ่งส์ที่มีอยู่นั้น ได้มีการทำเป็นมาตรฐานเดียกันมากมาย ทั้งอนุกรมมิติ และชนิด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกแบริ่งส์ที่เหมาะสมจากแบริ่งส์มาตรฐานเหล่านั้น                                    


2. ความสามารถในการรับภาระและชนิดแบริ่งส์
     ความสามารถในการรับแรงในแนวแกนของแบริ่งส์หนึ่งๆ นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมากกับความสามารถในการรับแรงแนวรัศมี ในแบบที่ว่าขึ้นอยู่กับแบบแบริ่งส์ดังที่แสดงในรูปด้านล่าง ตัวเลขนี้จะทำให้เข้าใจได้ชัดเจนว่าเมื่อแบริ่งส์ที่อนุกรมมิติเดียวกันมาเทียบกัน แบริ่งส์เม็ดหมอนมีความสามารถในการรับแรงสูงกว่าแบริ่งส์เม็ดกลมและอีกทั้งยังรับแรงกระแทกได้ดีกว่าด้วย


3.  ความเร็วอนุญาติของแบริ่งส์                                
ความเร็วสูงสุดของแบริ่งส์แปรเปลี่ยนไปไม่เพียงจากชนิดแบริ่งส์เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับขนาด ชนิดของรังแรงกระทำวิธีการหล่อลื่น การกระจายความร้อนและอื่นๆ เช่น หากวิธีการหล่อลื่นเป็นแบบอ่างน้ำมัน ธรรมดาแบบของแบริ่งส์ก็สามารถจัดลำดับจากความเร็วสูงไปต่ำดังรูป

 

4. การเยื้องแนวของวงแหวนในและนอกของแบริ่งส์                                
     วงแหวนในและวงแหวนนอกจะเเยื้องแนวเล็กน้อยเนื่องมาจากการโก่งตัวของเพลาสาเหตุจากแรงที่กระทำมิติขนาดของเพลาและตัวเสื้อที่ไม่เที่ยงตรง และความผิดพลาดในการติดตั้ง การเยื้องแนวที่อนุญาติแปรเปลี่ยนไปตามชนิดแบริ่งส์และสภาวะการทำงานแต่โดยปกติแล้วก็จะเป็นมุมเล็กๆ น้อยกว่า 0.0012 เรเดียน (4')
     หากการใช้งานมีการเยื้องแนวมากแบริ่งส์ที่สามารถปรับแนวได้เอง เช่น แบริ่งส์เม็ดกลมปรับแนวได้เอง แบริ่งส์เม็ดโค้ง แบริ่งส์ตุ๊กตา ควรจะนำมาใช้ดังรูปนี้ การเยื้องแนวที่อนุญาติของแบริ่งส์ ดูได้จากบทเริ่มต้นของตารางมิติของแบริ่งส์แต่ละชนิด    


5. ความแข็งเกร็งของแบริ่งส์                                        
      เมื่อมีแรงมากระทำกับแบริ่งส์หนึ่งๆ ปริมาณการเสียรูปทางด้านความยืดหยุ่น จำนวนหนึ่งเกิดขึ้นที่บริเวณสัมผัสระหว่างลูกกลิ้งและรางวิ่ง ความาแข็งเกร็งของแบริ่งส์กำหนดโดยอัตราส่วนของภาระแบริ่งส์ต่อจำนวนการเสียรูปด้านความยืดหยุ่นของวงแหวนนอกและวงแหวนในกับลูกกลิ้ง
      สำหรับเพลาหลักของเครื่องมือกล จำเป็นต้องมีความแข็งเกร็งของแบริ่งส์สูงร่วมกับส่วนที่เหลือของเพลาดังนั้นเนื่องจากแบริ่งส์เม็ดหมอนเสียรูปน้อยกว่าเมื่อรับภาระ ทำให้มีการนำมาใช้งานมากกว่าแบริ่งส์เม็ดกลมเมื่อต้องการความแข็งเกร็งสูงเป็นพิเศษจะต้องทำพลีโหลด ให้กับแบริ่งส์ ซึ่งก็หมายความว่าแบริ่งส์มีช่องว่างภายในติดลบ การทำพลีโหลดมักจะทำกับแบริ่งส์เม็ดกลมสัมผัสเชิงมุม และแบริ่งส์เทเปอร์                                        

6. เสียงและแรงบิดของแบริ่งส์ชนิดต่างๆ                                        
     เนื่องจากแบริ่งส์ผลิตด้วยความเที่ยงตรงที่สูงมากเสียงและแรงบิดจึงต่ำ สำหรับแบริ่งส์เม็ดกลมร่องลึกและแบริ่งส์เม็ดทรงกระบอกนั้นในบางครั้งจะระบุระดับของเสียงไว้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ใช้งาน สำหรับแบริ่งส์เม็ดกลมขนาดจิ๋วความเที่ยงตรงสูง แรงบิดเริ่มต้น จะถูกระบุไว้ แบริ่งส์เม็ดกลมร่องลึกแนะนำให้ใช้กับงานที่ต้องการเสียงและแรงบิดต่ำ เช่น มอเตอร์และเครื่องมือวัด                                        
                            
7. ความเที่ยงตรงในการทำงานของแบริ่งส์                                        
     สำหรับเพลาหลักเครื่องมือกลที่ต้องการความแม่นยำในการหมุนสูงหรือใช้งานที่ความเร็วรอบสูง เช่น ซุปเปอร์ชาร์เจอร์ แบริ่งส์ความเร็วรอบสูงระดับ class 5, 4 หรือ 2 จะถูกนำมาใช้ ความแม่นยำในการหมุนของแบริ่งส์จะระบุต่างกันไป ระดับความแม่นยำที่ระบุจะแปรเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับชนิดของแบริ่งส์  การเปรียบเทียบความเบี่ยงเบนแนวรัศมีของวงแหวนใน สำหรับความแม่นยำในการวิ่งสูงสุดที่ระบุสำหรับแบริ่งส์แต่ละชนิดดังรูปสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูงแบริ่งส์เม็ดกลมร่องลึก แบริ่งส์เม็ดกลมสัมผัสเชิงมุมและแบริ่งส์เม็ดทรงกระบอกนั้นเหมาะสมที่สุด                                        
                                        
                            
8. การติดตั้งและการถอดแบริ่งส์ชนิดต่างๆ
      
แบริ่งส์ชนิดที่ถอดแยกได้ เช่นแบริ่งส์เม็ดทรงกระบอก แบริ่งส์เม็ดเข็มและแบริ่งส์เทเปอร์นั้นสะดวกสำหรับการติดตั้งและถอดสำหรับเครื่องจักรที่จะต้องติดตั้ง และถอดแบริ่งส์ค่อนข้างบ่อยสำหรับตรวจสอบตามคาบเวลานั้นแบริ่งส์ดังกล่าวจะถูกแนะนำให้ใช้ แบริ่งส์เม็ดกลมปรับแนวได้เองและแบริ่งส์เม็ดหมอน ขนาดเล็ก รูเอียงสามารถติดตั้งและถอดได้ง่ายมากเช่นกัน    

การเลือกการจัดตั้งแบริ่งส์
     โดยทั่วไปเพลาจะถูกรองรับด้วยแบริ่งส์ 2 ชุด เมื่อพิจารณาถึงการจัดตั้งแบริ่งส์ จะต้องตรวจสอบสิ่งดังต่อไปนี้
       (1) การขยายและหดตัวของเพลาที่มีสาเหตุจากการแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ
       (2) ความสะดวกในการถอดและติดตั้ง                                        
       (3) การเยื้องแนวของวงแหวนในและนอก ที่มีสาเหตุมาจากการโก่งตัวของเพลา และการติดตั้งที่ผิดพลาด
       (4) ความแข็งเกร็งของระบบรวม ซึ่งรวมถึงแบริ่งส์และการพลีโหลด                                        
       (5) ความสามารถในการรับภาระ ณ.ตำแหน่งที่เหมาะสมและความสามารถในการส่งแรงผ่าน                                        

แบริ่งส์กำหนดตำแหน่ง (ตรึง) และ แบริ่งส์ที่ไม่กำหนดตำแหน่ง (ลอย)
     แบริ่งส์บนเพลาหนึ่งๆนั้นมีแบริ่งส์เพียงชุดเดียวเท่านั้นที่สามารถเป็นแบริ่งส์ด้านตรึง เพื่อตรึงเพลาในแนวแกนสำหรับแบริ่งส์ด้านตรึง จะต้องใช้แบริ่งส์ที่สามารถรับแรงแนวรัศมีและแนวแกนได้ แบริ่งส์นอกเหนือจากด้านตรึงก็ต้องเป็นด้านลอย ซึ่งสามารถรับภาระในแนวรัศมีได้เท่านั้น เพื่อระบายการยืด และหดตัวของเพลาอันเนื่องมาจากอุณหภูมิถ้ามาตราการที่จะระบายการยืดหดตัวของเพลาจากอุณหภูมินั้นไม่เพียงพอ ภาระในแนวแกนจะเกิดขึ้นมากผิดปกติมากระทำกับแบริ่งส์ ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุของความเสียหายก่อนเวลา สำหรับแบริ่งส์ด้านลอยควรเลือกแบริ่งส์เม็ดทรงกระบอกหรือแบริ่งส์เม็ดเข็ม ที่มีทั้งวงแหวนใน และนอกแยกจากกันได้ ซึ่งสามารถเคลื่อนตัวในแนวแกนได้อย่างอิสระ (แบบ N, NU และอื่นๆ) เมื่อใช้แบริ่งส์แบบนี้จะทำให้การถอด และติดตั้งง่ายขึ้น 

     เมื่อใช้แบริ่งส์ชนิดถอดแยกไม่ได้ ในด้านลอย โดยปกติงานสวมระหว่างวงแหวนนอกกับตัวเสื้อ จะเป็นการสวมคลอน เพื่อให้เพลาซึ่งหมุนกับแบริ่งส์สามารถเคลื่อนตัวตามแนวแกนได้ ในบางครั้งการขยายตัวของเพลาถูกระบายโดยการสวมคลอนระหว่างวงแหวนในกับเพลาหากระยะระหว่างแบริ่งส์ทั้ง 2 ชุดนั้นสั้น และผลของการยืดหดเพลาสามารถละทิ้งได้ จะใช้แบริ่งส์เม็ดกลมสัมผัสเชิงมุม หรือแบริ่งส์เทเปอร์มาจัดวางตรงกันข้ามกันการปรับช่องวางในแนวแกน (การเคลื่อนตัวในแนวแกนที่เป็นไปได้) หลังจากติดตั้งสามารถทำได้โดยนัทหรือชิมรองความแตกต่างระหว่างแบริ่งส์ด้านลอย และด้านตรึง และการจัดตั้งแบริ่งส์ที่เป็นไปได้บางส่วน สำหรับแบริ่งส์ชนิดต่างๆ ดังรูปต่อไปนี้        

 

 
ตัวอย่างการจัดตั้งแบริ่งส์                                
     ตัวอย่างการจัดตั้งแบริ่งส์บางส่วน โดยพิจารณาถึงพลีโหลด และความแข็งเกร็งของระบบรวม การยืดหดของเพลาความคลาดเคลื่อน ในการติดตั้งและอื่นๆ ดังในตาราง

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้